บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2559
เนื้อหา / Knowledge contents
อาจารย์ให้คัดลายมือพยัญชนะไทย หัวกลมตัวเหลี่ยม
จากนั้นอาจารย์ให้กระดาษสี 1 แผ่น และคลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว โดยการตั้งปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับอากาศ
วิธีการนำเสนอ เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างกระดาษ และคลิปหนีบกระดาษโดยเริ่มจากการตังสมมติฐานว่าหากปล่อยกระดาษลงพื้นพร้อมกันจะเกิดอะไรขึ้น
เนื้อหากิจกรรมนี้คือ การนำเสนอเรื่องแรงต้านอากาศหมายถึงแรงที่มีทิศต้านทิศทางการเคลื่อนที่
เพื่อนกลุ่มที่ 1 นำเสนอ เรื่องฝน
เพื่อนกลุ่มที่ 2 นำเสนอ เรื่องลม
เพื่อนกลุ่มที่ 3 นำเสนอ เรื่องกังหันลม
กลุ่มที่ 4 นำเสนอ เรื่องแรงต้านอากาศ (ของตัวเอง)
งานที่ได้รับมอบหมาย ของเล่นวิทยาศาสตร์เด็กทำได้ โดยให้ได้ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ พร้อมบอกวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทำ
ของเล่น : ร่มชูชีพหรรษา
วัสดุ / อุปกรณ์
1.ถุงพลาสติก
2.กล่องกระดาษ
3.กรรไกร / คัตเตอร์
4.เชือก / ด้าย
วิธีการทำ
1.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
2.ตัดถุงพลาสติกให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแผ่นเดียว
3.นำเชือกมัดมุมแผ่นพลาสติกให้แน่นทั้ง 4 มุม
4.นำกรรไกร หรือคัตเตอร์ เจาะกล่องกระดาษที่เตรียมไว้
5.สอดเชือกผ่านรูที่เจาะกล่องกระดาษไว้ จากนั้นมัดให้แน่น
วิธีการเล่น
โยนร่มชูชีพขึ้นที่สูง หรือ ขึ้นไปยืนบนที่สูงแล้วปล่อยร่มชูชีพลงมา
ของเล่นชิ้นนี้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
แรง หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุ เช่น เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เปลี่ยนขนาดของอัตราเร็ว หรือเปลี่ยนขนาด รูปร่างของวัตถุ
บูรณาการคณิตศาสตร์
จากการกำหนดความสั้น-ยาว ของเชือกที่นำมาใช้ อีกทั้งต้องใช้การคาดคะเนน้ำหนักของกล่องกระดาษเพื่อให้ทุกอย่างสมดุลกัน
บูรณาการศิลปะ
จากการออกแบบ และวาดภาพระบายสีกล่องกระดาษให้ออกมาสวยงาม
ทักษะ / Skill
การปฏิบัติงานจริง
การบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหากับหัวข้อต่างๆ
การแก้ปัญหา
ประยุกต์ใช้ / Application
นำของเล่นและความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดและต่อยอดในการทำงาน
อาจารย์ / Teacher
มีรูปแบบการสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนได้คิด และสามารถจำได้
ตนเอง / Self
มีความเข้าใจในการเรียน และนำเสนอการแก้ปัญหา เรื่องอากาศได้ตรงประเด็น
เพื่อน / Friends
เข้าเรียนกันอย่างพร้อมเพียง และตั้งใจเรียน
สภาพแวดล้อม / Environment
อากาศในห้องค่อนข้างหนาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น